mnre-header-5

บทความที่น่าสนใจ

ธรรมาภิบาลได้มีการใช้อย่างกว้างขวางในช่วงระยะ 20 ปีที่ผ่านมา กำเนิดจากรายงานธนาคารโลกเรื่อง “Sub-Sahara African : From Crisis to Sustainable Growth”  ได้สรุปว่าภาวะด้อยการพัฒนาและปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นในประเทศในซีกโลกใต้ โดยที่องค์การทางการเงินระหว่างประเทศไม่สามารถแก้ปัญหาหรือให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศต่างๆ อย่างมีประสิทธิผลเนื่องจากปัญหาการบริหารจัดการที่ไม่ดีของประเทศนั้นๆ ธนาคารโลกจึงได้ใช้หลักธรรมาภิบาล เป็นเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้ยืมเพื่อการพัฒนาประเทศ นับแต่นั้นเป็นต้นมาแนวคิดเรื่องธรรมาภิบาลถูกนำมาใช้แพร่หลายในการบริหารรัฐกิจ ธุรกิจ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ธรรมาภิบาลมีความสำคัญอย่างไร อมาตยา เซน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลได้เคยตั้งข้อสังเกตว่า  “ไม่เคยมีทุพภิกขภัยร้ายแรงเกิดขึ้นในประเทศใดที่เป็นเอกราช มีประชาธิปไตย...

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) รายงานว่าก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยสู่บรรยากาศโลกนั้นมาจากการตัดไม้ทำลายป่าถึงร้อยละ 20 หากสามารถลดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ ทำลายป่าได้ ก็จะช่วยลดปริมาณของก๊าซเรือนกระจกได้ไม่น้อย อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) จึงได้มีการริเริ่มกลไก REDD ขึ้นมา REDD ย่อมาจาก Reducing Emission from Deforestation...

การค้นพบสายพันธ์สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ได้เพิ่มขึ้นตลอดมา แต่มนุษย์กลับรู้จักใช้ทรัพยากรสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติเหล่านี้เพียงส่วนน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับปริมาณสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ทั้งมวล แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สิ่งมีชีวิตในโลกกำลังถูกคุกคามและจะสูญพันธุ์ไป เชื่อว่าจะมีสิ่งมีชีวิตกว่าครึ่งหนึ่งกำลังจะสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้ก่อนที่มนุษย์จะรู้จักด้วยซ้ำไป คณะนักวิทยาศาสตร์ของกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ลงพื้นที่ศึกษาระบบนิเวศวิทยาของประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอันประกอบไปด้วยไทย กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และพื้นที่มณฑลยูนนาน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน อย่างต่อเนื่องนับจากปีพ.ศ.2551 เป็นต้นมา มีการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ในเขตลุ่มน้ำโขงที่ได้รับการบันทึกทางวิทยาศาสตร์มากถึง 1,710 สายพันธุ์ กองทุนสัตว์ป่าโลกเปิดเผยรายงานล่าสุดจากการสำรวจ ค้นพบปี พ.ศ.2554 เน้นให้เห็นถึงสัตว์สายพันธุ์ใหม่ 10 สายพันธุ์ที่เพิ่งมีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ จากจำนวนพืช 82...

ปี พ.ศ. 2535 อาเซียนมีพื้นที่พรุรวมกันประมาณ 350,000 – 400,000 ตารางกิโลเมตร ประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีพื้นที่พรุมากที่สุดถึง 170,000 ตารางกิโลเมตร รองลงมาคือประเทศมาเลเซีย ไทย บรูไน ฟิลิปปินส์ เวียดนามและลาวตามลำดับ ผลกระทบจากการพัฒนาและการจัดการพื้นที่พรุที่ผิดพลาดทำให้ปัจจุบันอาเซียนมีพื้นที่พรุเหลือประมาณ 250,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 60% ของพื้นที่พรุในเขตร้อนของโลก พื้นที่พรุให้คุณประโยชน์แก่มวลมนุษย์ไม่น้อยไปกว่าสังคมพืชป่าไม้ชนิดอื่น ๆ ทั้งประโยชน์ทางตรงในแง่การใช้ไม้และของป่า...

ดร.พบพร เศรษฐพฤกษา สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 สุพรรณบุรี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล น้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญของโลก ซึ่งองค์การสหประชาชาติ (http://www.unesco.org) ระบุไว้ว่าน้ำบาดาลมีปริมาณมากกว่า 95% ของปริมาณน้ำจืดทั้งหมดที่สามารถนำมาใช้ได้ 65% ของปริมาณน้ำบาดาลทั่วโลก ถูกนำไปใช้ในระบบชลประทาน 25% นำไปผลิตน้ำดื่ม และอีก 10% ใช้ในอุตสาหกรรม ชั้นน้ำบาดาลจำนวนมากมีลักษณะเป็นชั้นน้ำบาดาลข้ามพรมแดน (Transboundary Aquifers) ซึ่งต้องบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลในการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนแหล่งน้ำได้ ในอนาคต การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน...