คณะทํางานอาเซียนด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ (ASEAN Working Group on Water Resources Management: AWGWRM)

771

เพื่อเป็นหลักประกันว่ามีการเข้าถึงทรัพยากรน้ำอย่างเท่าเทียมและมีปริมาณน้ำที่มีคุณภาพในระดับที่ยอมรับได้อย่างเพียงพอ พิมพ์เขียวประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียนส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำจืด อาเซียนได้จัดตั้งคณะทำงานอาเซียนว่าด้วยการจัดการทรัพยากรน้ำในปี พ.ศ.2545 ตามมาด้วยการลงนามในแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวอาเซียนเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำในปี พ.ศ.2546 โดยรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียน อาเซียนได้มีมติรับรองแผนยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อการปฏิบัติการในการจัดการทรัพยากรน้ำ (ปี พ.ศ.2548) อันมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำให้เป็นหลักประกันว่ามีการเข้าถึงทรัพยากรน้ำอย่างเท่าเทียมและมีปริมาณน้ำที่มีคุณภาพในระดับที่ยอมรับได้อย่างเพียงพอ

แผนยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อการปฏิบัติการในการจัดการทรัพยากรน้ำ ( ASPA-WRM) ประกอบไปด้วยประเด็นหลัก 4 ข้อ คือ (1) อุปสงค์ อุปทานและการจัดสรรน้ำ (2) คุณภาพน้ำและสุขาภิบาล (3) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและเหตุการณ์ที่รุนแรงสุดขั้ว (4) การบริหารและเสริมสร้างศักยภาพ ประเด็นหลักทั้ง 4 นี้ได้นำไปสู่การแปรเป็นแนวคิดโครงการได้แก่

แนวคิดโครงการที่ 1 : เวทีการเรียนรู้เรื่องการจัดการอุปสงค์น้ำ
แนวคิดโครงการที่ 2 : คู่มือยุทธศาสตร์ระดับประเทศในการจัดการน้ำแบบบูรณาการของอาเซียน
แนวคิดโครงการที่ 3 : ระบบการจำแนกแม่น้ำ
แนวคิดโครงการที่ 4 : การจัดการข้อมูลน้ำอาเซียนและการออกแบบระบบรายงาน
แนวคิดโครงการที่ 5 : ความเสี่ยงและผลกระทบจากเหตุความรุนแรงสุดขั้วในประเทศสมาชิกอาเซียน
แนวคิดโครงการที่ 6 : การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้
แนวคิดโครงการที่ 7 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและสร้างความตระหนัก
แนวคิดโครงการที่ 8 : แผนการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบบูรณาการ
แนวคิดโครงการที่ 9 : การเพิ่มความตระหนักในระยะยาว ความรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ
แนวคิดโครงการที่ 10 : การศึกษาเรื่องสุขอนามัยและการจัดการมลภาวะ

 

ปัจจุบันโครงการ 5 โครงการได้มีมติรับรองและนำไปสู่ปฏิบัติการแล้ว ได้แก่

  • การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องแนวทางที่มีอยู่ แผนปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ (ดำเนินการโดยประเทศมาเลเซีย ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2552)
  • เวทีการเรียนรู้เรื่องการจัดการอุปสงค์น้ำในภาคเมือง(ดำเนินการโดยประเทศสิงคโปร์ ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2552)
  • เวทีการเรียนรู้เรื่องการจัดการอุปสงค์ทรัพยากรน้ำเพื่อการชลประทาน (ดำเนินการโดยประเทศไทย ในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2554)
  • ความเสี่ยงและผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมอย่างรุนแรงในรัฐสมาชิกอาเซียน (ดำเนินการโดยประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2553)
  • ความเสี่ยงและผลกระทบจากภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงในรัฐสมาชิกอาเซียน (ดำเนินการโดยประเทศไทย ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2553)

 

 

ที่มาของข้อมูล: http://www.aseangreenhub.in.th/envinat-ac/th/asiantogetsection/161-asean-outlook1-8

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

  • ASEAN Working Group on Water Resources Management: AWGWRM

[http://division.dwr.go.th/bic/dofa/AWGWRM/Webpage.htm]

แบ่งปัน